วรครันถะ ฟอนต์อักษรเฉียงพราหมณ์ของชาวไทย


อักษรไทยครันถะ หรืออักษรไทยคฤนถ์ เป็นอักษรที่พราหมณ์ในประเทศไทยและพราหมณ์ในอินเดียใต้ยังใช้กันอยู่ แต่ก็มีรูปแบบอักษรที่ง่ายและชัดเจนกว่าอักษรปัลลวะโบราณของไทยและอินเดียโบราณมาก เปรียบเทียบได้เหมือนกับอักษรสมัยสุโขทัยกับอักษรไทยปัจจุบัน โดยอักษรไทยคฤนถ์ในประเทศไทยใช้สำหรับเขียนภาษาไทย ทมิฬ สันสกฤต มาแต่ครั้งสมัยอยุธยา จนถึงปัจจุบัน แต่เป็นที่หวงห้ามและเป็นความลับของพราหมณ์ในราชสำนักไทย เหลือแต่หลักฐานที่เป็นต้นฉบับสมุดไทยดำเส้นรงค์ หรือทอง ที่เขียนโองการแช่งน้ำ พระราชพิธีตรียัมปวาย ฯลฯ ที่คาดว่าจะเป็นฉบับคัดลอกต่อ ๆ กันมาในช่วงรัชกาลที่ ๔-๕




Refer to: http://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=34&chap=1&page=t34-1-infodetail07.html


ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงได้จัดทำฟอนต์อักษรดังกล่าวขึ้นเพื่อให้สะดวกกับผู้สนใจศึกษาอักษรไทยคฤนถ์ ซึ่งเป็นอักษรที่ยังใช้เขียนภาษาสันสกฤตของพวกพราหมณ์ในปัจจุบัน และใช้เป็นส่วนหนึ่งของสื่อการเรียนการสอนรายวิชาภาษาตะวันออกของหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา






















📕📖📗📖📕📖📗📖📕









หมายเหตุ :
๑) มีอักษรซ้อนพิเศษต้องกดแทรก เพื่อความสวยงามจำนวนมาก

๒) ฟอนต์อักษรไทยคฤนถ์ หรือ วรครันถะ กำลังอยู่ในช่วงพัฒนาและแจกให้นิสิตป.โท สาขาภาษาไทยของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาทดลองใช้เท่านั้น ส่วนในอนาคตน่าจะแจกให้บุคคลทั่วไปได้ใช้ฟรีเป็นวิทยาทานแก่สาธารณะชน




🏆🏆🏆🏆🏆⚽🏆🏆🏆🏆🏆


























ตัวอย่างผลงานนักศึกษา







🐾🐾🐾🐾🐯🐾🐾🐾🐾





Comments

Popular posts from this blog

เรื่องสั้นเรื่อง "สวรรยา" ของคำสิงห์ ศรีนอก (ลาว คำหอม)