พื้นฐานวรรณกรรมไทย ๑




คลังวรรณคดีไทย


- รามเกียรติ์


1. สมัยก่อนสุโขทัย
1.1. ภาพสลักเรื่องรามเกียรติ์ที่นครวัด (ประเทศกัมพูชา
1.2. ภาพสลักเรื่องรามเกียรติ์ที่พิมาย (ประเทศไทย)

2 สมัยสุโขทัย
ถ้ำเจ้าราม และถ้ำสีดา/ถ้ำศักดา ที่เขาสีดา

3 สมัยอยุธยา
3.1 กรุงศรีอยุธยา
3.1.1. นิราศสีดา (ราชาพิลาปคำฉันท์)
เชื่อว่าแต่งในสมัยพระนารายณ์มหาราช


3.1.2. โคลงพาลีสอนน้อง
เชื่อว่าแต่งในสมัยพระนารายณ์มหาราช

3.1.3. โคลงทศรถสอนราม
เชื่อว่าแต่งในสมัยพระนารายณ์มหาราช

3.1.4. รามเกียรติ์คำฉันท์ สมัยอยุธยา

คาดว่าน่าจะเอามาจากบทพากย์เก่าที่เอาไว้สำหรับเล่นโขน ซึ่งเหลือเพียงที่นำมาเป็นตัวอย่างในหนังสือจินดามณีแค่ 4 บทสี่เล่มสมุดไทย ได้แก่
- บทพระอินทร์ให้พระมาตุลีนำรถมาถวายพระราม
- บทพระรามพระลักษมณ์คร่ำครวญติดตามนางสีดา
- บทพรรณนาถึงมหาบาศลูกทศกัณฐ์ - บทพิเภกครวญถึงทศกัณฐ์

3.1.5. รามเกียรติ์บทพากย์ ความครั้งกรุงเก่า

เชื่อว่าเป็นบทพากย์หนังใหญ่ บางท่านก็ว่าเป็นบทพากย์โขน เนื้อความไม่ปะติดปะต่อกัน เนื่องเรื่องไม่ครบสมบูรณ์ เข้าใจว่าแต่งในราวรัชสมัยพระเพทราชาถึงพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
3.1.6. รามเกียรติ์บทละคร ความครั้งกรุงเก่า

เนื้อความตั้งแต่ “พระรามประชุมพล” จนถึง “องคตสื่อสาร” น่าจะเป็นฉบับสำหรับเล่นละครของคณะเชลยศักดิ์ (ละครชาวบ้าน) ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา เพราะตอนท้ายมีข้อความว่า "นายฉายโศรฐเขียนจบในเดือนเจดไม่หมดเเสดรื่องราวรามมะเกรียร"



3.2 ล้านช้าง (อีสานกับประเทศลาวในปัจจุบัน)
3.2.1 พระลักพระลาม

เชื่อว่าได้อิทธิพลจากเรียมแกร์ (รามาเกียรติ์ของเขมร) มาตั้งแต่สมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม เป็นบุคคลร่วมสมัยกับสมัยของพระเจ้าอู่ทองของไทย เป็นสำนวนพระรามชาดกที่แพร่หลายในประเทศลาว มีการแต่งตามขนบของชาดก
3.2.2 พระรามชาดก
เชื่อว่าแต่งสมัยอาณาจักรล้านช้าง สมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (เนื้อหาตามขนบการแต่งชาดก และมีเนื้อเรื่องและชื่อตัวละครแต่งต่างจากฉบับไทยทุกสำนวน แต่มีฉบับสมบูรณ์และสืบทอดมาจนกลายเป็นวรรณกรรมถิ่นอีสานของไทยด้วย) ส่วนสำนวนที่แพร่หลายในประเทศลาวคือเรื่อง "พระลักพระลาม"


3.3 ล้านนา อุสาบารส
เชื่อว่าแต่งก่อนสมัยพระเจ้ากือนา เหลนของพระเจ้าติโลกราชแห่งอาณาจักรล้านนา ประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 หรือช่วงอยุธยาตอนต้น (มีเนื้อเรื่องตอนต้นได้อิทธิพลจากเรื่องพระอนิรุทธ์ในมหาภารตะส่วนตอนปลายในบางสำนวนเป็นโครงเรื่องรามเกียรติ์แทรกไม่มากก็น้อย)


นอกจากนี้เรื่องรามเกียรติ์สำนวนอื่นของล้านนา เช่น หอรมาน ปรัมมเหียร ยังไม่ทราบผู้แต่งและสมัยที่แต่งแน่ชัด

3.4 อาณาจักรหอคำเชียงรุ้ง
ลังกาสิบโห ของไทลื้อ
อาณาจักรหอคำเชียงรุ้งของชาวไทลื้อ 1 พันนา ในอาณาจักร 12 พันนาถือว่าเป็นเมืองคู่แฝดของอาณาจักรล้านนา ตั้งแต่สมัยสุโขทัย กล่าวคือพระเจ้ามังรายมหาราชเป็นหลานของเจ้าแห่งไทยลื้อคือท้าวรุ้งแก่นชายที่มีศักดิ์เป็นลุง ดังนั้นในช่วงที่ชาวไทล้านนารับวัฒนธรรมพุทธศาสนามาในสมัยพระเจ้าติโลกราช แล้วเรื่องมหาภารตะและรามเกียรติ์เข้าสู่อาณาจักรล้านนาก่อนสมัยพระเจ้ากือนาชาวไทลื้อก็น่าจะรู้จัก รามเกียรติ์ พระลักพระลาม แล้ว เพราะปัจจุบันวรรณกรรมที่เป็นที่นิยมในล้านนาอย่างจำปาสี่ต้น หรือแตงอ่อนก็มีฉบับไทลื้อเช่นกั

4 สมัยธนบุรี

รามเกียรติ์บทละคร พระราชนิพนธ์พระเจ้ากรุงธนบุรี

ระบุ “วันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้นค่ำหนึ่ง จุลศักราช 1132 ปีขาล โทศก” ตรงกับ พ.ศ. 2323 เป็นปีที่ 3 ในรัชกาล มีด้วยกัน 4 ตอน ได้แก่ 1) ตอนพระมงกุฎ 2) ตอนหนุมานเกี้ยวนางวานริน 3) ตอนท้าวมาลีวราชว่าความ จนทศกัณฐ์เข้าเมือง 4) ตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีกรวดทราย

5 สมัยรัตนโกสินทร์

5.1 กรุงเทพมหานคร

5.1.1.รามเกียรติ์บทละคร พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 1 (เป็นฉบับที่มีเนื้อเรื่องสมบูรณ์และยาวที่สุด)

5.1.2.1 รามเกียรติ์บทละคร พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 2

5.1.2.2 รามเกียรติ์คำพากย์ พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 2

5.1.3. โคลงภาพเรื่องรามเกียรติ์ วัดพระเชตุพน (สมัย รัชกาลที่ 3)


โคลงดั้นปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน พระนิพนธ์โดยกรมพระปรานุชิตชิโนรส กล่าวถึงผู้ประพันธ์โคลงเรื่องรามเกียรติ์ว่า
โคลงรามเรื่องรูปสลัก ผู้เชลงลักษณคารม กรมไกรขุนมหาสิทธิ์
หลวงสุวรรณจิตก็หลาย นายนุชชาญภูเบศร์
ซึ่งหมายถึง กรมหมื่นไกรสรวิชิต ขุนมหาสิทธิโวหาร หลวงสุวรรณอักษร นายนุช หลวงชาญภูบศร์
นอกจากโคลงรามเกียรติ์รอบพระอุโบสถแล้ว ในวัดโพธิ์ยังมีจิตรกรรมและจารึกสำนวนร้อยแก้วที่ศาลารอบพระมณฑปทั้งสี่ทิศ (คงเหลือแต่ศาลาทิศตะวันตก และทิศเหนือ) ข้อความตอนท้ายแผ่นที่ 55 มีความว่า เรื่องต่อจากนี้ไปดูที่ระเบียงวัดพระแก้ว
5.1.4. รามเกียรติ์บทละคร พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 4 ตอนพระรามเดินดง


5.1.5. รามเกียรติ์, โคลงภาพวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (สมัย รัชกาลที่ 5)
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์ปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างพระอารามตามประเพณีแต่ก่อน ทรงขนานนามว่าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และโปรดเกล้าฯ ให้จิตรกรเขียนรูปภาพเรื่องรามเกียรติ์ขึ้นรอบพระระเบียง ต่อมาภาพจิตรกรรมชำรุดหลุดล่อนไปตามกาลเวลา ครั้นถึงรัชกาลที่ 3 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เขียนภาพจิตรกรรมรามเกียรติ์ขึ้นใหม่ในโอกาสฉลองพระนครครบ 50 ปี ในรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทำให้ต้องขยายพระระเบียงออกไปทางด้านตะวันออกและตะวันตก จึงโปรดให้เขียนภาพเรื่องรามเกียรติ์ใหม่อีกครั้งซึ่งมาแล้วเสร็จในรัชกาลที่ 5 ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่าในปี พ.ศ.2425 นั้นกรุงเทพฯ จะมีอายุครบหนึ่งร้อยปีควรจะมีการเฉลิมพระนครและบูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดารามขึ้นใหม่เพื่อให้ทันมงคลวโรกาสดังกล่าวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดชเป็นแม่กองจัดการเขียนซ่อมภาพรามเกียรติ์ที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามโดยจัดทำเป็นห้อง ๆ รอบพระระเบียงและโปรดเกล้าฯ ให้เหล่ากวีประพันธ์โคลงบรรยายภาพต่าง ๆ โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ ขุนมหาสิทธิโวหาร(ห่วง) และพระเทพกระวี (นิ่ม)เป็นผู้พิสูจน์อักษร พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิชิตปรีชากร พระยาราชสัมภารากร(เลื่อน) ขุนวิสูตรเสนี ขุนวิสุทธากร และพระครูสมุหวรคณิศร เป็นผู้ตรวจฉันทลักษณ์และเนื้อความ

5.1.6.1 รามเกียรติ์คำพากย์และบทเจรจาสำหรับใช้แสดงโขน พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 6

จำนวน 6 ชุด คือ 1) ชุดสีดาหาย 2)ชุดเผาลงกา 3) ชุดพิเภกถูกขับ 4) ชุดจองถนน 5) ชุดประเดิมศึกลงกา และ 6) ชุดนาคบาศ

5.1.6.2 หนังสือเรื่องบ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 6

5.2 หัวเมืองฝ่ายเหนือ/ภาคเหนือ (นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่)

พรหมจักรชาดก

เชื่อว่าแต่งสมัย ร.4 โดยได้เค้าเรื่องจากรามเกียรติ์ฉบับ ร. 1 ผสมกับฉบับพื้นบ้านที่ได้อิทธิพลจากกฤติวาสีรามายณะฉบับเบงกาลี โดยประพันธ์ตามรูปแบบวรรณกรรมชาดก และมีชื่อตัวละครที่แตกต่างฉบับ ร. 1
แสดงให้เห็นว่ารามเกียรติ์มีความสำคัญกับสังคมไทยทุกยุคสมัย เพียงแต่สมัย รัชกาลที่ 3 และ 5 ก็มีการแต่งรามเกียรติ์ขึ้นเพื่อการศึกษา แต่ไม่ได้ใช้สำหรับบทละครหรือโขน อาจจะเป็นเพราะว่าพระมหากษัตริย์สมัยนั้นไม่ได้มีส่วนร่วมในการแต่งรามเกียรติ์โดยตรงเหมือนดังเช่นสมัยอื่น ๆ ทำให้หลายคนก็เข้าใจผิดว่าในสมัยนั้นกษัตริย์ไม่ได้สนับสนุนให้แต่งรามเกียรติ์ขึ้น นอกจากนี้ก็น่าจะมีรามเกียรติ์ฉบับราษฎร์ บทพากย์โขนชาวบ้านที่ยังไม่มีผู้สนใจสืบค้น






- ไตรภูมิ


1. สมัยสุโขทัย
ไตรภูมิพระร่วง/เตภูมิกถา


2. สมัยอยุธยา
เตภูมิพระมาลัย
ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานในกรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส


3. สมัยธนบุรี
สมุดภาพไตรภูมิ


4. สมัยรัตนโกสินทร์
4.1 ไตรภูมิโลกวินัจฉัย (สมัย ร. 1)
อธิบายและเพิ่มเติมเนื้อหาของไตรภูมิโดยละเอียดพิสดาร


4.2 เฉลิมไตรภพ (สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น)
มีเนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างโลก เทพนพเคราะห์ จักรราศี และนักษัตร ตามความเชื่อทางโหราศาสาตร์


ความเชื่อเรื่องไตรภูมิมีมาทุกยุคสมัย และส่งอิทธิพลต่อวรรณคดีและวัฒนธรรมประเพณีไทย โดยเฉพาะในด้านจิตรกรรม แต่จิตรกรรมฝาผนังในวัดโบราณต่าง ๆ เช่นในทางภาคเหนือได้รับอิทธิพลความเชื่อเรื่องไตรภูมิจากคัมภีร์จักรวาฬทีปนี หรือคัมภีร์โลกศาสตร์อื่น ๆ เช่น อรุณวดีสูตร โลกทีปกสาร ฯ ที่แต่งมาก่อนคัมภีร์ไตรภูมิพระร่วง


-ชาดก


ชาดกมีสาระสำคัญเกี่ยวกับคำสอนในพุทธศาสนา หลักศรัทธา ปัญญา และความเชื่อ ซึ่งชาดกโดยเฉพาะมหาชาติจะให้หลักสำคัญเกี่ยวกับบารมีทั้ง 10 ประการของพระโพธิสัตว์หรือพระอริยบุคคลทั้งหลายและพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ ถือกำเนิดเป็นมนุษย์บ้าง เทวดาบ้าง สัตว์เดรัจฉานบ้าง แต่ก็ได้ทรงพยายามทำความดีคือบารมี 10 ติดต่อกันมากบ้างน้อยบ้างตลอดมา จนเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย มี547 เรื่อง แต่มักเรียกว่า พระเจ้า 500 ชาติ คัมภีร์คันธวงศ์ได้กล่าวว่า พระพุทธโฆสะ เป็นผู้แต่ง ชาตกัฏฐกถา พร้อมกับคัมภีร์อรรถกถาเล่มอื่น ๆ
ชาดกเป็นหลักฐานชั้นต้นอันถือว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ตัวชาดกในบาลีจะแบ่งออกเป็น 2 ภาค ได้แก่ พระไตรปิฎกเล่มที่ 27 เรียกว่า ปฐมภาค (ภาคที่ 1) กับเล่มที่ 28 เรียกทุติยภาค (ภาคที่ 2)ในภาคที่ 1 นั้นจะแบ่งออกเป็น 17 นิบาต เริ่มตั้งแต่ เอกนิบาต (ชาดกที่มีคาถาเดียว)-เตรสนิบาต (ชาดกที่มี 13 คาถา) ปกิณณกนิบาตร (คาถาที่มีมากกว่า 13 คาถาขึ้นไป) วีสตินิบาต (คาถาที่มีมากว่า 20 คาถาขึ้นไป) ติงสนิบาตร (คาถาที่มี 30 คาถาขึ้นไป) และจัตตาฬีสนิบาต(คาถาที่มี 40 คาถาขึ้นไป)
สำหรับภาคที่ 2 นั้น มี 5 นิบาต คือ ปัญญาสนิบาต(หมวดที่มี 50 คาถาขึ้นไปซึ่งมีอยู่ 3 ชาดก) สัฏฐินิบาต (หมวดที่มี 60 คาถาขึ้นไป มี 2 ชาดก) สัตตตินิบาต (หมวดที่มี 70 คาถาขึ้นไป มี 2 ชาดก) อสีตินิบาต (หมวดที่มี 80 คาถาขึ้นไปมี 5 ชาดก) และมหานิบาต (หมวดที่มี 100 คาถาขึ้นไปมี 10 ชาดกที่เรียกว่า พระเจ้าสิบชาตินั่นเอง)
คำว่า นิบาต หมายถึง ตัวคาถา ตัวอย่างถ้าเรียกว่า เอกนิบาต หมายถึง ชาดกที่มี 1 คาถา ใน 18 คาถาจะประกอบด้วย 4 บาท ตัวอย่าง คาถาในอปัณณกชาดกซึ่งเป็นเรื่องแรกของชาดก
“อปณฺณกํ ฐานเมเก ทุติยํ อาหุ ตกฺกิกา
เอตทญฺญาย เมธาวี ตํ คเณฺห ยทปณฺณกนฺติ
พวกคนฉลาดกล่าวฐานะที่ไม่ผิด
นักเดาทั้งหลายกล่าวในฐานะที่ 2 (ที่ผิดพลาด)
ผู้มีปัญญารู้จักฐานะที่ไม่ผิดและฐานะที่ผิดนั้น
จึงเป็นผู้สมควรที่จะยึดถือฐานะที่ไม่ผิดไว้เถิด” [1]
ในเอกนิบาตจะมี 15 วรรค วรรคละ 10 ชาดก รวมเป็น 150 เรื่อง ดังนี้
1. อปัณณกวรรค10 ชาดก        9. อปายิมหวรรค 10 ชาดก
2. สีลวรรค 10 ชาดก               10. ลิตตวรรค 10 ชาดก
3. กุรุงควรรค 10 ชาดก           11. ปโรสตวรรค 10 ชาดก
4. กุลาวกวรรค 10 ชาดก        12. หังสิวรรค 10 ชาดก
5. อัตถกามวรรค 10 ชาดก     13. กุสนาฬิวรรค 10 ชาดก
6. อาสิงสวรรค 10 ชาดก        14. อสัมปทานวรรค 10 ชาดก
7. อิตถีวรรค 10 ชาดก            15. กกัณฎกวรรค 10 ชาดก
8. วรุณวรรค 10 ชาดก

ในการตั้งชื่อวรรคนั้น จะนำชื่อชาดกแรกมาเป็นชื่อวรรคเป็นส่วนมาก การตั้งชื่อลักษณะนี้จะมีถึง 28 วรรค ตัวอย่างในวรรคแรกที่ชื่อว่าอปัณณกวรรค จะนำธรรมมาตั้งว่าด้วยข้อปฏิบัติที่ถูกต้องที่ทำให้บรรลุธรรม ในส่วนการตั้งชื่อชาดกจะนำชื่อพระโพธิสัตว์มาเป็นชื่อชาดกเป็นส่วนมาก เช่น เสรีววาณชชาดก เป็นชื่อชาดกเหมือนในอปัณณกวรรคที่กล่าวไปแล้ว
ความรู้ใหม่ที่ค้นพบจากชาดก

1. พงศาวดารและประวัติศาสตร์
พงศาวดารและประวัติศาสตร์ในชาดกส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องมหากาพย์ของอินเดียคือเรื่องรามายณะและมหาภารตะ โดยนำมาสอดแทรกเพื่ออธิบายหลักธรรมในตรงกับจริตของชาวอินเดีย เพราะเป็นเรื่องราวตำนานพงศาวดารที่คนอินเดียสมัยก่อนคงรู้จักในสมัยในเช่นเรื่อง 1) รามายณะ (ท้าวทศรถ และสุวรรณสาม) 2) มหาภารตะ (นางกัณหาในกุณาลชาดก) และ 3) พระมหาชนก (นางมณีเมขลา มหากาพย์ของชาวทมิฬ)
แต่ที่น่าสนใจและดูจะเกี่ยวของกับไทย ที่เป็นประเทศหนึ่งในอาเซียนซึ่งในสมัยโบราณน่าจะเรียกว่าสุวรรณภูมิที่สุดคือ เรื่องพระมหาชนก ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ในมหาชาติที่บำเพ็ญความเพียรมากที่สุด และได้รับการช่วยเหลือจากนางมณีเมขลา หรือที่ชาวทมิฬเรียกว่า นางมณีเมขไล

ก) นางมณีเมขลา หรือมณีเมขไล ภิกษุณีหรือนางฟ้าในพงศาวดารของชาวทมิฬ
มณีเมขไล (Manimekalai) มหากาพย์พุทธศาสนาของชาวทมิฬ ภาคต่อของศิลัปปะธิการัม ซึ่งมีเนื้อเรื่องว่า หลังจากที่โกวะลันจากนางเมธาวีไป นางเมธาวีก็ตั้งครรภ์คลอดลูกสาวให้ชื่อว่า มณีเมขไล (Manimekalai) นางได้สอนลูกสาวจนนางมณีเมขไลกลาย เป็นนางระบำที่เก่งกาจ และรักกันกับเจ้าชายคือโจฬันอุทยะกุมาร (Cholan Udyakumara) แต่เนื่องจากนางมณีเมขไลเป็นลูกสาวของโกวะลัน และแม่ใหญ่ (ภรรยาหลวงของพ่อ) เป็นผู้สาปเผาทำลายเมืองมะดูไร (เก่า) จนพินาศไป นางจึงกลายเป็นลูกของศัตรูของวรรณะกษัตริย์ ความรักของนางกับเจ้าชายจึงเป็นไปไม่ได้ นางมณีเมขไลจึงต้องการที่จะอุทิศตัวเองให้กับชีวิตพรหมจรรย์ทางศาสนา
หลังจากนั้นนางได้บวชเป็นภิกษุณีเพื่อปฏิบัติธรรมที่จะกำจัดกิเลสของตัวเองเพื่อความหลุดพ้นจากการเป็นทาสของการเวียนว่ายตายเกิด จากนั้นนางได้ใช้นำอาหารในบาตรวิเศษแจกจ่ายให้คนยากจนจำนวนมาก ทำให้ได้รับการบูชาในฐานะสตรีนักบวชผู้ศักดิ์สิทธิ์ และในท้ายที่สุดนางก็บรรลุนิพพาน โดยในเปรตกถายังปรากฏเรื่องของคนทมิฬที่ระลึกถึงกุศลกรรมดีทำให้ไปเกิดใหม่ในภพภูมิที่ดีขึ้นได้ ฯ ซึ่งแสดงถึงเค้าร่องรอยเกี่ยวกับความเจริญของพุทธศาสนาในยุคพุทธศาสนาในอินเดียใต้

ข) สุวรรณภูมิในเรื่องมหาชนก
ดินแดนสุวรรณภูมิ คำว่า สุวรรณภูมิ หมายถึง “แผ่นดินทอง” ส่วนมากปรากฏในคัมภีร์ชาดก เช่น มหาชนกชาดก กล่าวถึงพระมหาชนกเดินทางมาค้าขายที่สุวรรณภูมิ แต่เรือแตกกลางทะเล ในสมัยสังคายนาครั้งที่ 3 ราว พ.ศ. 234 พระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งพระธรรมทูตมาเผยแผ่พุทธศาสนาที่สุวรรณภูมิ โดยมีพระโสณะและพระอุตตระเป็นประธาน เมื่อท่านมาถึง ได้ปราบผีเสื้อสมุทรที่ชอบเบียดเบียนชาวสุวรรณภูมิ ทำให้ชาวสุวรรณภูมิเลื่อมใส จากนั้นท่านได้แสดงพรหมชาลสูตร เป็นที่น่าสังเกตว่า ตอนปราบผีเสื้อสมุทร ท่านได้สวดพระปริตรป้องกันเกาะสุวรรณภูมิไว้ จึงมีคำเรียก สุวรรณภูมิ อีกชื่อหนึ่งว่า สุวรรณทวีป แปลว่า เกาะทอง เมื่อสันนิษฐานจากสองคำนี้ ทำให้ได้ข้อสรุปอย่างน้อย 2 อย่าง คือ
1 สุวรรณภูมิเป็นดินแดนที่เป็นแผ่นดินใหญ่
2 สุวรรณทวีป คือ เกาะที่อยู่ติดกับสุวรรณภูมิ
และเนื่องจากในชาดกกล่าวว่า สุวรรณภูมิอยู่ทางทิศตะวันออกของอินเดีย เมื่อพิจารณาจากแผนที่โลก จึงน่าจะสันนิษฐานได้ต่อไปว่า สุวรรณภูมิ คือส่วนที่เป็นแผ่นดินหรือประเทศในอาเซียนปัจจุบัน


2. ประวัติศาสตร์พุทธศาสนา
เนื่องจากโครงเรื่องของอรรถกถาชาดกประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วน[2] คือ
1) “ปัจจุบันวัตถุ” หรือการปรารภเรื่อง หมายถึง เรื่องในสมัยพุทธกาล กล่าวถึงต้นเหตุของการเล่าชาดก โดยมักจะกล่าวเริ่มว่าขณะนั้นพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ไหน ทรงปรารถเรื่องอะไรจึงตรัสคาถาเรื่องนั้น
2) “อดีตวัตถุ” หมายถึง เนื้อเรื่องของนิทานชาดก ซึ่งมักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า “อตีเต”
3) “คาถา” หมายถึง หัวใจของเรื่องหรือสุภาษิตที่นำมาจากนิบาตชาดก
4) “อธิบายคาถา” หมายถึง การอธิบายคาถาที่นำมาแทรกไว้ในเรื่อง ด้วยภาษาบาลีง่าย ๆ ให้เข้าใจดีขึ้น เป็นการอธิบายไวยากรณ์ทีละคำทีละวลี
5) “สโมธาน” หรือประชุมชาดก (บางกรณีเรียกว่า “ประชุมชาติ” ) หมายถึง การสรุปเรื่องชาดกด้วยการโยงเรื่องในอดีตและปัจจุบันเข้าด้วยกัน เป็นการระบุว่าผู้ฟังชาดกเรื่องนั้น ผู้อยู่ในที่นั้น (ขณะทรงตรัสเล่าชาดก) หรือผู้มีชื่อเป็นตัวละครอยู่ในยุคพุทธกาล ต่างได้บรรลุมรรคผลในขั้นใดไปบ้างแล้ว ใครกลับชาติมาเกิดเป็นใครในสมัยพุทธกาล โดยทั่วไปตัวละครใน “อดีตวัตถุ” กับ “ปัจจุบันวัตถุ” มักจะสอดคล้องกัน เช่น ผู้ร้ายฝ่ายชาย (อดีตวัตถุ) จะได้แก่ พระเทวทัต (ปัจจุบันวัตถุ) ผู้ร้ายฝ่ายหญิง (อดีตวัตถุ) ได้แก่ นางจิญจมาณวิกา (ปัจจุบันวัตถุ) ผู้ช่วยพระเอก (พระอินทร์) ได้แก่ พระอนุรุทธะ นางเอก คือ พระนางพิมพายโสธรา ฯลฯ
ดังในด้านองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์พุทธศาสนาจะมีอยู่ในปัจจุบันวัตถุ ว่าในสมัยพุทธกาลอะไรเป็นสาเหตุให้ทรงตรัสชาดกเรื่องนั้น ๆ
3. คุณค่า
3.1 เหตุการณ์ที่ตรัสสอนชาดกเป็นเรื่องราวประวัติศาสตร์พุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล
เรื่องราวที่ปรากฏในชาดกต่าง ๆ ที่พระพุทธองค์ทรงนำมาแสดงกับพุทธบริษัทต่างๆ จึงเป็น เรื่องจริงแท้แน่นอน และมีปรากฏมาตั้งแต่สมัยครั้งพุทธกาลแล้ว เป็นเรื่องจริงที่มีมาในอดีตที่พระพุทธองค์
ทรงนำมาแสดงโดยทรงใช้บุพเพนิวาสานุสติญาณ มิใช่มาแต่งเพิ่มในภายหลังเรื่องราวชาดกต่าง ๆ มีปรากฏ
อยู่ในชาตกปาลิและชาตกอัฏฐกถา ที่ปรากฏในชาตกปาลิหรือพระไตรปิ ฎกนั้น เป็นถ้อยคำโต้ตอบกันที่เรา
ไม่ค่อยเข้าใจเหมือนในอรรถกถาชาดก ชาดกในพระไตรปิ ฎกนั้นเป็นตัวแก่นของชาดก ได้แก่พุทธพจน์ และคำโต้ตอบกันก็เป็นพุทธพจน์ ไม่มีเรื่องเล่าประกอบเหมือนในอรรถกถาชาดก[3]
3.2 เนื้อหาในชาดกสอดคล้องกับคาถาธรรมบท ช่วยให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจสาระในคาถาธรรมบทได้ชัดเช่นยิ่งขึ้น ทศบารีมี อริยสัจสี่ และไตรลักษณ์ เป็นต้น
3.3 ชาดกเป็นนิทานสอนธรรมะที่เข้าใจได้ง่ายแก่พุทธศาสนิกชนทั่วไป ซึ่งหลักธรรมคำสอนหลักที่ปรากฏในชาดกเช่น
3.2 รูปแบบการแต่ง ชาตกัฏฐกถา เป็นต้นแบบของนิทานพื้นบ้านไทย และชาดกนอกนิบาตต่างเช่น ปัญญาสชาดกซึ่งเป็นนิทานอาเซียนที่แพร่หลายในล้านนาของไทย พม่า เขมร และลาว ทำให้ปัจจุบันเราสามารถแบ่งชาดกออกได้สองประเภทคือ
3.2.1 ชาดกในนิบาตซึ่งมีเนื้อหาจากพระไตรปิฎกเช่น ทศชาติ พระเจ้าห้าร้อยชาติ
3.2.2 ชาดกนอกนิบาตที่ไม่มีเนื้อหาจากพระไตรปิฎก แต่เป็นวรรณกรรมพื้นบ้าน หรือนิทานท้องถิ่นที่แต่งเลียนแบบชาดกัฏฐกถา หรือนำเรื่องราวในชาดกต่าง ๆ มารวมกันและแต่งใหม่ เช่น สังข์ทอง สุวรรณเศียร โสวัตกุมาร ธนัญชัยบัณฑิต และปัญญาสชาดก เป็นต้น
3.2.3 เรื่องราวในชาดกทั้งนิบาตและนอกนิบาตได้กลายเป็นคลังความรู้ทางด้านวรรณคดีไทย ผู้ที่ต้องการศึกษาวรรณคดีให้แตกฉานก็ต้องให้ความสนใจกับการศึกษาชาตกัฏฐกถาด้วย
3.2.4 เรื่องราวในชาตกัฏฐกถา ผสมผสานกับเรื่องราวชาดกที่มีที่มาจากวรรณกรรมพื้นบ้านไทย ทำให้เกิดงานศิลป์ต่าง ๆ ทั้งจิตรกรรมฝาผนัง ลายไทย
3.2.4 เรื่องราวในชาตกัฏฐกถา และเรื่องราวชาดกที่มีที่มาจากวรรณกรรมพื้นบ้านส่งอิทธิพลต่อความเชื่อไทยต่าง ๆ เช่นความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์เรื่องยามอุบากอง ในพรหมชาติที่กล่าวถึงยามที่ให้เกิดเภทภัยว่าถึงการตกทุกข์ได้ยากที่ว่า เหมือนนางยักษ์ลักพราหมณ์ไปสู่ถ้ำ (ปทกุศลมาณวชาดก)
ชาดกเป็นวรรณกรรมพุทธศาสนาที่อยู่คู่กับสังคมไทยมานานทำให้ สังคมไทยผสมผสานความเชื่อและประเพณีไทยต่าง ๆ เข้ากับค่านิยมพุทธศาสนาที่ถูกถ่ายทอดเรียนรู้กันมาแต่งครั้งโบราณกาลในรูปแบบของชาดก เรียกได้ว่า ชาดกเป็นวรรณคดีที่เป็นต้นแบบในการสร้างสรรค์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยในสมัยต่าง ๆ มากมาย ชาดกจึงเป็นขุมทรัพย์และคลังสมบัติแห่งปรัชญา ความรู้ และวรรณคดีสำหรับคนไทย ในด้านแนวคิดพุทธปรัชญา ในส่วนของอดีตวัตถุ และคาถาของชาดกแต่ละเรื่องจะให้เรื่องราวอุทาหรณ์และสาระสำคัญเกี่ยวกับคำสอนในพุทธศาสนา หลักศรัทธา ปัญญา และความเชื่อ ซึ่งชาดกโดยเฉพาะมหาชาติจะให้หลักสำคัญเกี่ยวกับหลักธรรมต่าง ๆ ที่สอดคลองกับพระคาถาพระธรรมบท แต่มีความหลักธรรมที่มีความโดดเด่นคือ ทศบารมีทั้ง 10 และมรรค 8 เป็นต้น

อ้างอิง

[1] อปัณณกชาดก. ขุ.ชา. เอกก.(ไทย) /27/ 1/1
[2] สืบพงศ์ ธรรมชาติ. วรรณคดีชาดก.กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. 2542, หน้า. 14.
[3] พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), “ ประวัติ พัฒนาการ และอิทธิพลของพระไตรปิ ฎก”, พุทธจักร, ปี ที่ 46 ฉบับที่9 (กันยายน 2535), : 7 - 8.






รางวัลซีไรท์ปี 2522-2561 (เฉพาะนักเขียนไทย)

ครั้งที่
ปี
ชื่อหนังสือ
ชื่อผู้แต่ง
ประเภท

1
2522
ลูกอีสาน
คำพูน บุญทวี
นวนิยาย

2
2523
เพียงความเคลื่อนไหว
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
กวีนิพนธ์

3
2524
ขุนทองเจ้าจะกลับมามาเมื่อฟ้าสาง
อัศศิริ ธรรมโชติ
เรื่องสั้น

4
2525
คำพิพากษา
ชาติ กอบจิตติ
นวนิยาย

5
2526
นาฏกรรมบนลานกว้าง
คมทวน คันธนู
กวีนิพนธ์

6
2527
ซอยเดียวกัน
วานิช จรุงกิจอนันต์
เรื่องสั้น

7
2528
ปูนปิดทอง
กฤษณา อโศกสิน
นวนิยาย

8
2529
ปณิธานกวี
อังคาร กัลยาณพงศ์
กวีพนธ์

9
2530
ก่อกองทราย
ไพฑูรย์ ธัญญา
เรื่องสั้น

10
2531
ตลิ่งสูง ซุงหนัก
นิคม รายยาวา
นวนิยาย

11
2532
ใบไม้ที่หายไป
จิรนันท์ พิตรปรีชา
กวีนิพนธ์

12
2533
อัญมณีแห่งชีวิต
อัญชัน
เรื่องสั้น

13
2534
เจ้าจันทร์ผมหอม
มาลา จันทร์คำ
นวนิยาย

14
2535
มือนั้นสีขาว
ศักดิ์ศิริ มีสมสืบ
กวีนิพนธ์

15
2536
ครอบครัวกลางถนน
ศิลา โคมฉาย
เรื่องสั้น

16
2537
เวลา
ชาติ กอบจิตติ 2
นวนิยาย

17
2538
ม้าก้านกล้วย
ไพวรินทร์ ขาวงาม
กวีนิพนธ์

18
2539
แผ่นดินอื่น
กนกพงศ์ สงสมพันธ์
เรื่องสั้น

19
2540
ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน
วินทร์ เลียววารินทร์
นวนิยาย

20
2541
ในเวลา
นรคำ ประโดยคำ
กวีนิพนธ์

21
2542
สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน
วินทร์ เลียววารินทร์
เรื่องสั้น

22
2543
อมตะ
วิมล ไทรนิ่มนวล
นวนิยาย

23
2544
บ้านเก่า
โชคชัย บัณฑิต
กวีพนธ์

24
2545
ความน่าจะเป็น
ปราบดา หยุ่น
เรื่องสั้น

25
2546
ช่างสำราญ
เดือนวาด พิมวนา
นวนิยาย

26
2547
แม่น้ำรำลึก
เรวัตร พันธ์พิพัฒน์
กวีนิพนธ์

27
2548
เจ้าหงิญ
บินหลา สันกลาคิรี
เรื่องสั้น

28
2549
ความสุขของกะทิ
งามพรรณ เวชชาชีวะ
นวนิยาย

29
2550
โลกในดวงตาข้าพเจ้า
มนตรี ศรียงค์
กวีนิพนธ์

30
2551
เราหลงลืมอะไรบางอย่าง
วัชระ สัจจะสารสิน
เรื่องสั้น

31
2552
ลับแล แก่งคอย
อุทิศ เหมะมูล
นวนิยาย

32
2553
ไม่มีหญิงสาวในบทกวี
ชะการีย์ยา อมตยา
กวีนิพนธ์

33
2554
แดดเช้าร้อนเกินกว่าจะนั่งจิบกาแฟ
จเด็จ กำจรเดช
เรื่องสั้น

34
2555
คนแคระ
วิภาส ศรีทอง
เรื่องสั้น

35
2556
หัวใจห้องที่ห้า
อังคาร จันทาทิพย์
กวีนิพนธ์

36
2557 อสรพิษ 
แดนอรัญ แสงทอง 
เรื่องสั้น

37
2558
ไส้เดือนตาบอดในเขาวงกต
วีรพร นิติประภา
นวนิยาย

38
2559
นครคนนอก
พลัง เพียงพิรุฬห์
กวีนิพนธ์

39
2560
สิงโตนอกคอก
จิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท
เรื่องสั้น

40
2561
พุทธศักราชอัสดงกับความทรงจำของแมวกุหลาบดำ
วีรพร นิติประภา
นวนิยาย

41
2562
ระหว่างทางกลับบ้าน
อังคาร จันทาทิพย์
กวีนิพนธ์

42
2563
คืนปีเสือ และเรื่องเล่าของสัตว์อื่นๆ 
จเด็จ กำจรเดช
เรื่องสั้น

Comments

Popular posts from this blog

เรื่องสั้นเรื่อง "สวรรยา" ของคำสิงห์ ศรีนอก (ลาว คำหอม)