เฉลย นิทานคำพ้อง และไม่พ้อง
นิทานสื่อคำพ้อง (ทดสอบเขียนนิทานตามคำบอก)
Refer to: https://www.pngitem.com/middle/obJoxw_burmese-people-politician-teacher-wife-woman-myanmar-school/
1. ให้เปิดหาความหมายก่อน
(ให้ทุกคนเปิดหาความหมายคำต่อไปนี้)
ก้าว-เก้า เจ้า-จ้าว เท้า-ท้าว เหย้า-หย้าว ได้-ด้าย ลาย-ไลน์ ฟาย-ไฟล์ ทัย-ไท-ไทย-ไธม์ ลัย-ไล ชัย-ไช-ไชย ตรัย-ไตร-ไต สัย-ไสย-ไส-ใส วัย-ไว หญ้า-ย่า เหง้า-เง่า ไหว้-ว่าย น่า-หน้า เหน้า-เน่า ม่าย-หม้าย ไหม้-ไม่ เหล้า-เล่า หย่า-อย่า ค่า-ฆ่า-ข้า ค่าง-ข้าง ขั้ง-คั่ง คลั่ง ครั่ง ไคว่-ไขว้ ฮ่า-ห้า ฮ่าง-ห้าง โซ่ง-โส่ง สรอง-สอง ศรี-สี ทรวง-ซวง ทรง-ซง เส้า-เศร้า สุด-สุทธิ์ สาบ-สาป ฌาน-ชาญ กราว-กาว กล้า-กร้า ไก-ไกร-ไกล ต้าว เต้า ด้าว เด้า เอ้าท์ อ้าว เข้า ข้าว
2. อ่านสอบและเฉลย
👄กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีคนต่างด้าวล้มต้าวจนเต้าติดพื้น เธออายร้องอ้าวลุกเอ้าท์ก้าวหนีไปเก้าก้าวไปพบเจ้าจึงไหว้เท้าของคุณท้าวท่านสั่งให้ร้อยด้ายถ้าไม่ได้ให้ลงไปว่ายน้ำ รากเหง้าของสาวไม่โง่เง่า ฟังเพลงกราวปลุกหทัยกล้า แล้วเอาตะกร้าเก็บดอกไม้ร้อยมาลัย เอากรรไกร ทั้งกาวน้ำ อยู่สองวันก็สร้อยเศร้านั่งอยู่ข้างก้อนเส้า คิดถึงบ้านเดิมที่เมืองสรองเป็นไทใหญ่มาอยู่ไทย ละลายเงินไปกับไลน์ เพื่อนชื่อขุนไกรจึงหนีไกล นั่งถอนหญ้า หม่อมย่าสั่งว่า "อย่าหย่าจากเขา ฟังคำมีค่ามิเช่นนั้นข้าจะฆ่าเจ้า" คนมั่งคั่งคุ้มคลั่งจนเลือดคั่ง เธอจึงหนีไปเลี้ยงครั่งด้วยไธม์เป็นพืชไม้ แต่เขาขังขั้งไว้ จึงหนีปีนข้างบ้านไปอย่างค่าง ไม่ไขว้เขวไคว่ดู ขอพ่อหม้าย/ม่ายอยู่เหย้าเรือน เธอทำแบบนี้ไม่น่ารักไม่มีหน้าไปพบหม่อมย่า
👄 สาวแต่งใหม่กับเหน้าหนุ่มไม่อยู่เป็นโสดอย่างหนังน้ำเน่า สุดทางชีวิตใจบริสุทธิ์ก็เข้าหอ ไปกินข้าวเม่ากับเจ้าบ่าว ผัวกินได้ห้าห่อหัวเราะฮ่า ๆ นึกว่าฮ่างเป็นห้างไม้ สาวเหม็นสาบคนจนจึงสาปแช่ง แล้วฟูมฟายส่งไฟล์ไปหาแม่ แม่นั่งฌานอย่างเชี่ยวชาญ มีวิชัยยุทธในเวียงชัย/ไชย จึงดำดินมาหาเธอแล้วสอนเธอปลูกไชเท้า เป็นคนไตรู้ไตรภูมิถือตรัยรัตน์ มีวิชาไสย อัชฌาสัย /อัธยาศัย ใสสะอาด มิตรพาลเร็วไวไสหัวไป ก็สมวัยงามศรีนุ่งผ้าสีตามวัน อย่านุ่งดำอย่างลาวซ่ง (ซง/ โซ่ง/ โส่ง คำไหนก็ได้) หรือไททรงดำก็ว่า จบแล้วแม่ลาเอย
3. คำพ้องเสียง
สาเหตุให้เกิดคำพ้องของคำเหล่านี้คือ
3.1 คำที่สระสั้นลากเสียงยาวขึ้นตามวรรณยุกต์บังคับ กล่าวคือโดยปกติ สระเอาจะเสียงสั้นกว่าสระอาว และสระไอจะเสียงสั้นกว่าสระไอ แต่ก็มีบางตัวเช่นพวกเช่น
3.1.1 พวกพยัญชนะ ก จ ท สำหรับกลุ่มสระ เอา/อาว เสียงโท มีความเท่ากันได้แก่คำว่า ก้าว-เก้า เจ้า-จ้าว เท้า-ท้าว
3.1.2 พยัญชนะ ด สำหรับกลุ่มสระ ไอ/อาย เสียงโท มีความเท่ากัน เช่น ได้-ด้าย
3.1.3 พวกคำยืมจากภาษาต่างประเทศที่มีเสียงสระไอยาวกว่าสระไอของไทยทำให้เสียง ไอ เท่ากับเสียงอายในภาษาไทย เช่น ลาย-ไลน์ ฟาย-ไฟล์
3.2 พวกสระไอที่มีการสะกดรูปคำต่างกัน เช่น ทัย-ไท-ไทย-ไธม์ ลัย-ไล ชัย-ไช-ไชย ตรัย-ไตร-ไต สัย-ไสย-ไส-ใส วัย-ไว
3.3 พวกเสียงอักษรนำ
3.3.1 เสียงอักษรนำ เอก โท สลับที่แล้วทำให้เสียงเท่ากัน เช่น หญ้า-ย่า เหง้า-เง่า ไหว้-ว่าย น่า-หน้า เหน้า-เน่า ม่าย-หม้าย ไหม้-ไม่ เหล้า-เล่า เหย้า /เย่า/ หย้าว /ย่าว/ และ ย้าว (ภาษาถิ่นเหนือ อีสาน)
3.3.2 รูปเขียนเสียงอักษรนำที่ต่างกันแต่เสียงเหมือนกัน เช่น หย่า-อย่า
3.4 อักษรที่มีคู่เทียบเสียง เวลาผันอักษรสามหมู่แล้วเสียงมาชนกัน เช่น ค่า-ฆ่า-ข้า ค่าง-ข้าง ขั้ง-คั่ง คลั่ง ครั่ง ไคว่-ไขว้ ฮ่า-ห้า ฮ่าง-ห้าง โซ่ง-โส่ง
3.5 อักษรควบไม่แท้ กับคู่เทียบ เช่น สรอง-สอง ศรี-สี ทรวง-ซวง ทรง-ซง เส้า-เศร้า
3.6 ต่างกันที่รูปแบบการเขียนแต่เสียงเหมือนกัน คือคำที่สระและตัวสะกดมาตราเดียวกันเสียงวรรณยุกต์แบบเดียวกัน แต่เขียนต่างกันความหมายต่างกัน เช่น สุด-สุทธิ์ สาบ-สาป ฌาน-ชาญ
3.7 ปัญหาการออกเสียงควบกล้ำ เช่น กราว-กาว กล้า-กร้า ไก-ไกร-ไกล (ภาษาพูดที่ไม่ใช่สำเนียงมาตรฐาน)
4. คำที่ไม่ใช้คำพ้องเสียง
คำอักษรกลางที่เสียงโทของสระเอาและอาวที่เสียงไม่เทียบกันไม่ได้เช่น ต้าว เต้า ด้าว เด้า
เอ้าท์ อ้าว เข้า ข้าว
5. คำคู่เทียบ และคำไม่มีคู่เทียบ
ก้าว (ก้าวเดิน) -เก้า (จำนวนเก้า)
เจ้า (เจ้านาย ตัวเจ้า) -จ้าว (ข้าวจ้าว)
เท้า (รองเท้า) -ท้าว (คุณท้าว)
ได้ (ได้ทำ รายได้) -ด้าย (เส้นด้าย)
ลาย (ทำลาย ละลาย) -ไลน์ (ออนไลน์)
ฟาย-(ฟูมฟาย) -ไฟล์ (ไฟล์วิดีโอ ไฟล์เอกสาร)
ทัย (หทัย) -ไท (ชาวไท) -ไทย (ประเทศไทย) -ไธม์ (สมุนไพรไธม์)
ลัย (มาลัย) -ไล (วิไล)
ชัย (วิชัย ชัยชนะ) -ไช (ไชเท้า) -ไชย (วัดเวียงไชย)
ตรัย (ตรัยรัตน์) -ไตร (ไตรภูมิ) -ไต (ชาวไต / โรคไต)
สัย (อัฒชาสัย/สงสัย) -ไสย (ไสยศาสตร์) -ไส (ไสหัว, เสือกไส) -ใส (น้ำใส สดใส)
วัย (วัยวุฒิ) -ไว (เร็วไว)
หญ้า (หญ้าคา) -ย่า (คุณย่า)
เหง้า (รากเหง้า เหง้าขมิ้น) -เง่า (โง่เง่า)
ไหว้ (ไหว้พระ) -ว่าย (ว่ายน้ำ)
น่า (น่ารัก) -หน้า (หน้าตา หน้าหนาว)
เหน้า (เหน้าหนุ่ม) -เน่า (น้ำเน่า)
ม่าย-หม้าย (พ่อม่าย)
ไหม้ (ไฟไหม้ อกไหม้) -ไม่ (ไม่ทำ ไม่เอา)
เหล้า (ดื่มเหล้า) -เล่า (เล่าเรื่อง เล่าลือ)
หย่า (หย่าร้าง) -อย่า (อย่าทำ)
เหย้า /เย่า/-หย้าว/ย่าว/-ย้าว (เรือน)
ค่า (มีค่า คุณค่า) -ฆ่า (ฆ่าให้ตาย) -ข้า (ตัวข้า ขี้ข้า)
ค่าง (ลิงค่าง) -ข้าง (ข้างทาง ข้างหน้า ข้างหลัง ข้างฝา)
ขั้ง-คั่ง คลั่ง ครั่ง
ไคว่ (ไคว่ดู)-ไขว้ (ไขว้เขว)
ฮ่า (หัวเราะ ฮ่า ๆ ) -ห้า (เลขห้า จำนวนห้า)
ฮ่าง (รวย) -ห้าง (ห้างร้าน ห้างไม้บนต้นไม้ไว้ส่องสัตว์)
โซ่ง -โส่ง (ลาวโซ่ง หรือโส่ง ก็ว่า)
สรอง (เมืองสรองในภาคเหนือและลิลิตพระลอ) -สอง (เลขสอง จำนวนสอง)
ศรี (พระศรี เป็นเกียรติเป็นศรี) -สี (สีเสื้อผ้า สีทาบ้าน)
ทรวง (ทรวงอก)-ซวง (ซวงดักปลา งูซวง)
ทรง (ทรงดำ ทรงอักษร) -ซง (ลาวซง)
เส้า (ก้อนเส้า) -เศร้า (โศกเศร้า)
สุด (ที่สุด) -สุทธิ์ (บริสุทธิ์)
สาบ (เหม็นสาป) -สาป (คำสาป)
ฌาน (นั่งฌาน) -ชาญ (เชี่ยวชาญ)
กราว (เพลงกราวกีฬา) -กาว (กาวน้ำ)
กล้า (ผู้กล้า ความกล้า) -กร้า (ตะกร้า)
ไก (กลไก) -ไกร (กรรไกร เกียงไกร) -ไกล (อยู่ไกล)
ต้าว (ล้มต้าว)
เต้า (เต้านม เต้าสู่วัง)
ด้าว (ต่างด้าว)
เด้า (นกเด้าลม หรือกริยากระดกก้นขึ้น ๆ ลง ๆ)
เอ้าท์ (ลูกบอลเอ้าท์ออกนอกสนามไป)
อ้าว (อ้าว! พรุ่งนี้วันหยุด)
เข้า (เข้าบ้าน เข้ามา)
ข้าว (กับข้าว กินข้าว)
Refer to: https://www.facebook.com/pages/category/Personal-Blog/วัดเวียงไชยปราการ-เชียงใหม่-304412836718478/
หมายเหตุ มีวัดชื่อเวียงไชยปราการ อยู่จังหวัดเชียงใหม่
Refer to: https://sites.google.com/site/teacheroraya/kar-phan-wrrnyukt
6. กิจกรรมท้ายบทเรียน
6.1 ให้ผู้เรียนศึกษาคำเป็นคำตายเสียงสั้นยาวกับการผันวรรณยุกต์ แล้วแบ่งเป็น 6 กลุ่มช่วยกันเขียนตารางอักษรทุกตัวที่กลุ่มตนรับผิดชอบ ได้แก่ กลุ่มอักษรกลาง กลุ่มอักษรสูง กลุ่มอักษรต่ำคู่ กลุ่มอักษรต่ำเดี่ยว กลุ่มอักษรนำ และกลุ่มคำศัพท์ที่ผู้สอนกำหนด ฯ (งานกลุ่ม)
6.2 ให้ผู้เรียนแต่ละคนแต่งนิทานสยองขวัญหักมุมเป็นมุขตลก** (เป็นเรื่องเข้าใจผิดว่าเป็นเรื่องผี) จากศัพท์คำพ้องไม่พ้องทั้งหมดที่สอนไปและที่กลุ่มตนหา ที่ได้เกี่ยวกับคำพ้องเสียง (งานเดี่ยว)
Comments
Post a Comment