Posts

Showing posts from August, 2021

วรครันถะ ฟอนต์อักษรเฉียงพราหมณ์ของชาวไทย

Image
อักษรไทยครันถะ หรืออักษรไทยคฤนถ์ เป็นอักษรที่พราหมณ์ในประเทศไทยและพราหมณ์ในอินเดียใต้ยังใช้กันอยู่ แต่ก็มีรูปแบบอักษรที่ง่ายและชัดเจนกว่าอักษรปัลลวะโบราณของไทยและอินเดียโบราณมาก เปรียบเทียบได้เหมือนกับอักษรสมัยสุโขทัยกับอักษรไทยปัจจุบัน โดยอักษรไทยคฤนถ์ในประเทศไทยใช้สำหรับเขียนภาษาไทย ทมิฬ สันสกฤต มาแต่ครั้งสมัยอยุธยา จนถึงปัจจุบัน แต่เป็นที่หวงห้ามและเป็นความลับของพราหมณ์ในราชสำนักไทย เหลือแต่หลักฐานที่เป็นต้นฉบับสมุดไทยดำเส้นรงค์ หรือทอง ที่เขียนโองการแช่งน้ำ พระราชพิธีตรียัมปวาย ฯลฯ ที่คาดว่าจะเป็นฉบับคัดลอกต่อ ๆ กันมาในช่วงรัชกาลที่ ๔-๕ Refer to: http://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=34&chap=1&page=t34-1-infodetail07.html ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงได้จัดทำฟอนต์อักษรดังกล่าวขึ้นเพื่อให้สะดวกกับผู้สนใจศึกษาอักษรไทยคฤนถ์ ซึ่งเป็นอักษรที่ยังใช้เขียนภาษาสันสกฤตของพวกพราหมณ์ในปัจจุบัน และใช้เป็นส่วนหนึ่งของสื่อการเรียนการสอนรายวิชาภาษาตะวันออกของหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 📕📖📗📖📕📖📗📖📕 หมายเหตุ : ...

เฉลย นิทานคำพ้อง และไม่พ้อง

Image
นิทานสื่อคำพ้อง (ทดสอบเขียนนิทานตามคำบอก) Refer to: https://www.pngitem.com/middle/obJoxw_burmese-people-politician-teacher-wife-woman-myanmar-school/ 1. ให้เปิดหาความหมายก่อน (ให้ทุกคนเปิดหาความหมายคำต่อไปนี้) ก้าว-เก้า เจ้า-จ้าว เท้า-ท้าว เหย้า-หย้าว ได้-ด้าย ลาย-ไลน์ ฟาย-ไฟล์ ทัย-ไท-ไทย-ไธม์ ลัย-ไล ชัย-ไช-ไชย ตรัย-ไตร-ไต สัย-ไสย-ไส-ใส วัย-ไว หญ้า-ย่า เหง้า-เง่า ไหว้-ว่าย น่า-หน้า เหน้า-เน่า ม่าย-หม้าย ไหม้-ไม่ เหล้า-เล่า หย่า-อย่า ค่า-ฆ่า-ข้า ค่าง-ข้าง ขั้ง-คั่ง คลั่ง ครั่ง ไคว่-ไขว้ ฮ่า-ห้า ฮ่าง-ห้าง โซ่ง-โส่ง สรอง-สอง ศรี-สี ทรวง-ซวง ทรง-ซง เส้า-เศร้า สุด-สุทธิ์ สาบ-สาป ฌาน-ชาญ กราว-กาว กล้า-กร้า ไก-ไกร-ไกล ต้าว เต้า ด้าว เด้า เอ้าท์ อ้าว เข้า ข้าว 2. อ่านสอบและเฉลย 👄กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีคนต่างด้าวล้มต้าวจนเต้าติดพื้น เธออายร้องอ้าวลุกเอ้าท์ก้าวหนีไปเก้าก้าวไปพบเจ้าจึงไหว้เท้าของคุณท้าวท่านสั่งให้ร้อยด้ายถ้าไม่ได้ให้ลงไปว่ายน้ำ รากเหง้าของสาวไม่โง่เง่า ฟังเพลงกราวปลุกหทัยกล้า แล้วเอาตะกร้าเก็บดอกไม้ร้อยมาลัย เอากรรไกร ทั้งกาวน้ำ อยู่สองวันก็สร้อยเศร้านั...

พื้นฐานวรรณกรรมไทย ๑

Image
คลังวรรณคดีไทย - รามเกียรติ์ 1. สมัยก่อนสุโขทัย 1.1. ภาพสลักเรื่องรามเกียรติ์ที่นครวัด (ประเทศกัมพูชา 1.2. ภาพสลักเรื่องรามเกียรติ์ที่พิมาย (ประเทศไทย) 2 สมัยสุโขทัย ถ้ำเจ้าราม และถ้ำสีดา/ถ้ำศักดา ที่เขาสีดา 3 สมัยอยุธยา 3.1 กรุงศรีอยุธยา 3.1.1. นิราศสีดา (ราชาพิลาปคำฉันท์) เชื่อว่าแต่งในสมัยพระนารายณ์มหาราช 3.1.2. โคลงพาลีสอนน้อง เชื่อว่าแต่งในสมัยพระนารายณ์มหาราช 3.1.3. โคลงทศรถสอนราม เชื่อว่าแต่งในสมัยพระนารายณ์มหาราช 3.1.4. รามเกียรติ์คำฉันท์ สมัยอยุธยา คาดว่าน่าจะเอามาจากบทพากย์เก่าที่เอาไว้สำหรับเล่นโขน ซึ่งเหลือเพียงที่นำมาเป็นตัวอย่างในหนังสือจินดามณีแค่ 4 บทสี่เล่มสมุดไทย ได้แก่ - บทพระอินทร์ให้พระมาตุลีนำรถมาถวายพระราม - บทพระรามพระลักษมณ์คร่ำครวญติดตามนางสีดา - บทพรรณนาถึงมหาบาศลูกทศกัณฐ์ - บทพิเภกครวญถึงทศกัณฐ์ 3.1.5. รามเกียรติ์บทพากย์ ความครั้งกรุงเก่า เชื่อว่าเป็นบทพากย์หนังใหญ่ บางท่านก็ว่าเป็นบทพากย์โขน เนื้อความไม่ปะติดปะต่อกัน เนื่องเรื่องไม่ครบสมบู...

เรื่องสั้นเรื่อง "สวรรยา" ของคำสิงห์ ศรีนอก (ลาว คำหอม)

Image
เรื่องสั้นชั้นครู : อ่านแล้วต้องตีความ ผมมีเรื่องสั้นชั้นครูเรื่องหนึ่งที่อยากแนะนำให้ท่านอ่าน ผมได้อ่านเรื่องนี้มานานมากแต่ยังจำได้ดี เพราะเป็นเรื่องที่อาจารย์นำมาเป็นตัวอย่างในการวิจารณ์เรื่องสั้น อ่านแล้วก็ต้องขบคิดตีความ ตีความแล้วก็สนุกครับ เพราะคาดไม่ถึงว่า จะเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมากๆ ครับ สวรรยา ( ลาว คำหอม ) ที่มา https://mocabangkok.com/th/project/ ภาค สวรรค์ ภายใต้เงาฟ้าเรืองรองวันหนึ่ง หลายชีวิตได้เปิดเปลือกตาขึ้น ณ ห้องหับสีทองที่อบอวลด้วยกลิ่นสุคนธรส “นี่แน่ะ ท่านผู้เป็นน้องแห่งเรา” ชีวิตแรกเอ่ยทักเมื่อปรากฏร่างน้อยๆ ของอีกชีวิตหนึ่งเคลื่อนมาตรงหน้า “อะหา ใครกันที่มาเราว่บังอาจเรียกเราว่าน้อง” ชีวิตสองสนองตอบ “เรานะรึ” “ก็จะยังมีผู้อื่นใดอีกเล่า” “อ๋อ เราคือผู้เป็นเจ้าของแห่งภพนี้” " ใครสอนถ้อยคำอันแสนจองหองนั้น แก่ท่าน ” “ความจริง” “คืออย่างไร” “ก็มีอยู่ว่า เทพเจ้าส่งให้เรามาจุติ ณ รมณียสถานแห่งนี้” “อือ ตลกดี” เงียบลงชั่วขณะหนึ่ง “ไหมล่ะ ท่านจำนน ต่อความจริ...

เพลงกระต่ายกับเต่า (วงดอกไม้ป่า)

Image
๐ เต่าตัวลายเดินย้ายโคลงเคลง.......กระต่ายฮัมเพลง...เดินสวนทางมา ให้นึกขำขันเจ้าเต่าท้องนา.................เชื่องช้าดังกับปลิง. ๐ มันจึงเปรยแกมเย้ยท้าทาย............แข่งความไวกันไหมเจ้าปลิง เจ้านั้นชักช้าน่าเบื่อเสียจริง................ต่อให้วิ่งไปก่อน ๐.เพราะทนงในตัวเกินไป......................จึงหลงเอนกายพิงไม้พักผ่อน สายลมโชยหวิวไหวชายชอน.............กระต่ายเจ้าจึงนอน...หลับปุ๋ยเย็นใจ. ๐ กระต่ายทนงลืมหลงลืมตน.................ตื่นมาจนอาทิตย์ลาไป รีบลุกผลุนผลันดั้นด้นพฤกษ์ไพร........แต่ช้าไปแล้วสิ